วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

วิจัยเชิงสำรวจ


ชื่อเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3

โรงเรียนอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ, 56 หน้า

ปีการศึกษา 2552

ผู้วิจัย นางสุวีรา สุดาเดช





การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ โดยจำแนกตามเพศ และระดับชั้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอำนาจเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 336 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ536.) กำลังศึกษา

อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ร้อยละ44.9)นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียน 2.50 – 3.49 (ร้อยละ49.9)

ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป(ร้อยละ35.1) ส่วนใหญ่มีรายได้ตั้งแต่ 5,000 – 9,999 บาท

(ร้อยละ34.2) นักเรียนส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาล (ร้อยละ53.0)นักเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น

ของตนเอง(ร้อยละ70.5) นักเรียน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต มากกว่า 4 ปี

(ร้อยละ41.4)

2. พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต นักเรียนส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ต พบว่า เพื่อประกอบการ

เรียน(ร้อยละ82.7) เนื้อหาบนอินเตอร์เน็ตที่นักเรียนเข้าใช้ส่วนใหญ่ คือ เพลงและเกม (ร้อยละ80.0

และ74.7 ตามลำดับ) สถานที่ที่นักเรียนใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่คือ ร้านบริการอินเตอร์เน็ต(ร้อยละ

68.7) ระยะเวลาที่นักเรียนใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่คือ ระยะเวลา 1 – 2 ชม. (ร้อยละ54.7) ในแต่ละ

วัน นักเรียนใช้อินเตอร์เน็ตประมาณวันละ 1 ครั้ง(ร้อยละ45.8) โดยใช้ในช่วงเวลาเย็น คือเลิกเรียน-

18.00น. (ร้อยละ51.4) และในวันเสาร์ – อาทิตย์ หรือวันหยุด (ร้อยละ82.7) นักเรียนส่วนใหญ่จะใช้

อินเตอร์เน็ตร่วมกับผู้ปกครอง (ร้อยละ48.2) นักเรียนส่วนใหญ่เคยเข้าใช้เว็บไซต์ ลามก อนาจาร

บ่อย ๆ(ร้อยละ61.6) สำหรับ การบริการอินเตอร์เน็ตที่นักเรียนเข้าส่วนใหญ่ใช้บริการบ่อยคือ การค้นหา

ข้อมูล(ร้อยละ66.3) เว็บไซต์ที่นักเรียนส่วนใหญ่ใช้เป็นประจำ คือ www.google.co.th (ร้อยละ83.3)

ในแต่ละเดือน นักเรียนส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ตต่ำกว่า 100 บาท (ร้อยละ38.7)

3 . ปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ต ปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนในระดับมากมี 2

รายการ คือมีนักเรียนเข้าใช้จำนวนมาก และการเข้าอินเตอร์เน็ตค่อนข้างช้า ระบบเครือข่ายของ

โรงเรียนมีปัญหา

วัฒนธรรมการวิจัย

วัฒนธรรมการวิจัย หมายถึง การที่กลุ่มบุคคลหรือสังคมมีการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ และสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ได้แก่
1.  ตั้งคำถาม หมายถึง การกำหนดประเด็นปัญหาที่นำไปสู่การค้นหาคำตอบ
2.  เตรียมการค้นหาคำตอบ หมายถึง การกำหนดวิธีดำเนินการหาคำตอบ
3.  ดำเนินการค้นหาและตรวจสอบคำตอบ หมายถึง การดำเนินงานเพื่อหาคำตอบตามวิธี   ที่กำหนดไว้ แล้วพิจารณาความถูกต้อง ครบถ้วนของการดำเนินงานและคำตอบที่ได้รับตลอดช่วงการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ และปรับปรุง จนได้คำตอบที่สามารถขจัดความขัดแย้งทางความคิดภายในตน ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างบุคคล หรือความขัดแย้งระหว่างความคิดกับหลักฐานเชิงประจักษ์
4.  สรุปและนำเสนอผลการค้นหาคำตอบ หมายถึง การสรุปผลการดำเนินการค้นหาคำตอบ และรายงานผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย

การสร้างวัฒนธรรมการวิจัย หมายถึง การดำเนินงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและคณะบริหารจัดการระดับภาค เพื่อให้นักเรียนมีวัฒนธรรมการวิจัยในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการที่ทำให้ครูมีวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย ผู้บริหารโรงเรียนมีความสามารถในการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย และศึกษานิเทศก์ มีความสามารถในการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียน ครูและนักเรียนมีวัฒนธรรมการวิจัยซึ่งวิธีการดังกล่าวใช้กระบวนการ 6 ขั้น ได้แก่ จุดประกาย ท้าทายความคิด ร่วมจิตวิจัย ก้าวไกลด้วยคาราวาน ขยายฐานเครือข่าย และสืบสายวัฒนธรรมวิจัย

1.  จุดประกาย หมายถึง ขั้นเตรียมการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจในแนวทาง การดำเนินงาน ที่ตรงกันระหว่างผู้รับผิดชอบทุกระดับ
2.  ท้าทายความคิด หมายถึง ขั้นเริ่มปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยของนักเรียนในโรงเรียน โดยครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3.  ร่วมจิตวิจัย หมายถึง ขั้นปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยของนักเรียน โดยครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จนครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย และนักเรียนมีทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
4.  ก้าวไกลด้วยคาราวาน หมายถึง ขั้นปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยของนักเรียน โดยครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ในลักษณะการศึกษาดูงาน เพื่อปรับปรุง/พัฒนาแนวคิดและการปฏิบัติงานในการดำเนินงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5.  ขยายฐานเครือข่าย หมายถึง ขั้นปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยของนักเรียน โดยครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องขยายผลการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยให้กับครูและนักเรียนในโรงเรียนเดียวกันหรือโรงเรียนอื่น
6.  สืบสายวัฒนธรรมวิจัย หมายถึง ขั้นปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยของนักเรียน โดยครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จนนักเรียนเกิดวัฒนธรรมการวิจัยในการเรียนรู้ ครูเกิดวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย

การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเรียนรู้หรือแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้น ได้แก่ 1) ตั้งคำถาม 2) เตรียมการค้นหาคำตอบ 3) ดำเนินการค้นหาและตรวจสอบคำตอบ และ 4) สรุปและนำเสนอผลการค้นหาคำตอบ

การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย หมายถึง การแสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ได้แก่ 1) ตั้งคำถาม 2) เตรียมการค้นหาคำตอบ 3) ดำเนินการค้นหาและตรวจสอบคำตอบ และ 4) สรุปและนำเสนอผลการค้นหาคำตอบ

วัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่มุ่งเน้นให้นักเรียนบรรลุ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยใช้กระบวนการหรือแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ได้แก่ 1) ตั้งคำถาม 2) เตรียมการค้นหาคำตอบ 3) ดำเนินการค้นหาและตรวจสอบคำตอบ และ 4) สรุปและนำเสนอผลการค้นหาคำตอบ

ความสามารถในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย หมายถึง การจัดการอย่างเป็นระบบของผู้บริหารโรงเรียนที่เอื้ออำนวยให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย

ความสามารถในการนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย หมายถึง การช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาของศึกษานิเทศก์เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัย และให้ครูจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเกิดวัฒนธรรมการวิจัยในโรงเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การรับการตรวจราชการ


ครูและนักเรียนนำเสนองานด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับ ICT 




กลุ่มสาระศิลป ดนตรี นาฎศิลป์  โดยครูไพฑูรย์  สุนทรักษ์  และนายวรธน มณัชตะ

การรับการประเมินภายใน จาก สพม.29





นักเรียนนำเสนอเกมเพื่อการเรียนรู้ที่นักเรียนพัฒนาเอง ด้วยกระบวนการโครงงาน


นักเรียนนำเสนอ Web Based Project เป็นภาษาอังกฤษ  



นักเรียนนำเสนอ ผลงานแอนิเมชั่น เพื่อการเรียนรู้ ซึ่งพัฒนาโดย นักเรียน ตามหลักสูตร




การนำเสนองานนำเสนอ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์

กลุ่ม ICT Team  สร้างสรรค์งาน ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ครูสุวีรา  สุดาเดช  ครูที่ปรึกษา งานนำเสนอ ในครั้งนี้

การประชุมปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมวิจัยในโรงเรียน ครั้งที่ 2

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนใต้
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
26-27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท อุบลราชธานี









วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

Research Based Learning (ขั้นตอนที่ 1 และ 2 )

หลังจากที่นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้ว  ครูแจกใบกิจกรรม นักเรียนได้รับใบกิจกรรม รับฟังคำชี้แจง
 และระดมความคิดตั้งประเด็นคำถาม 
ครูชี้แจงการทำกิจกรรม

นักเรียนระดมสมอง ทบทวนความรู้เดิม

ร่วมกันเสนอประเด็นคำถามที่น่าสงสัย

โครงงานคอมพิวเตอร์ กับโครงงานวิทยาศาตร์ที่เราเคยเรียนต่างกันรึเปล่า

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไรนะ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ทำไทเราต้องทำโครงงานคอมพิวเตอร์ด้วยนะ



กลุ่มเราช่างสงสัย จัง

กลุ่มเรามีผังงานการวางแผนปฏิบัติการค้นหาคำตอบแล้วนะคะ

ครูอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนไม่เข้าใจ

ครูครับ ผมสงสัยมากมายเลยครับ

ผลการจัดกิจกรรม  ได้ใบกิจกรรมที่นักเรียนร่วมกันคิดและวางแผนการปฏิบัติการค้นหาคำตอบ
ตรวจแล้วพบว่า ในส่วนของรายละเอียด นักเรียนมิได้แสดงไว้  หากแต่เมื่อครูซักถาม สามารถ
ตอบและอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติการค้นหาคำตอบได้  จึังแนะนำ ให้นักเรียนเพิ่มเติม
รายละเอียดในระหว่างดำเนินการค้นหาคำตอบ และนำเสนอในครั้งต่อไป

























การนำเสนอ ที่น่าสนใจ

การแข่งขัน โต้วาที ญัตติ โลกจริงดีกว่า โลกออนไลน์