วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Welcome Back to School

ยินดีต้อนรับ นักเรียนทุกคน สำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 2/2556 

ในภาคเรียนที่ 2 นี้ ครูได้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน จำนวน 3 รายวิชา ดังนี้


1. การสื่อสารและการนำเสนอ IS2 รหัสวิชา I 20202 สำหรับนักเรียนชั้นม.2 ห้อง 1,2,4,6,7,8,10,12
     และ 14

2.กิจกรรมเพื่อบริการสังคม IS3 รหัสวิชา I 20203 สำหรับนักเรียนชั้นม.3 ห้อง 11



3.เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 Application Program ง 23242 สำหรับนักเรียนชั้นม.3 ห้อง 2,8,9 และ 11


Application Program การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Binary Number System for computer

What  is  Binary Number  System 



เลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น

Binary (English: binary numeral system) refers to a system that has symbols only two is 0 (zero) to 1 (one) sometimes means that the opportunity to choose only two of the closed to the open, not. and yes, the false with the true, from left to right.
ในปัจจุบันเลขฐานสองเป็นพื้นฐานในการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยนำเอาหลักการของเลขฐานสอง (สถานะไม่มีไฟฟ้า และ สถานะมีไฟฟ้า) มาใช้ในการสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีหน่วยประมวลผลแบบ 32 หรือ 64 บิต หรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการประมวลผลแบบดิจิทัล
The current binary is fundamental in the computer. By applying the principles of the binary number. (Status, power and status have no electricity) used to build the microprocessor with a 32 or 64 bit processor or higher. Which can be called that, is processed digitally.



Why Computers Use Binary

           

          Binary numbers – seen as strings of 0's and 1's – are often associated with computers. But why is this? Why can't computers just use base 10 instead of converting to and from binary? Isn't it more efficient to use a higher base, since binary (base 2) representation uses up more "spaces"?
          I was recently asked this question by someone who knows a good deal about computers. But this question is also often asked by people who aren't so tech-savvy. Either way, the answer is quite simple

Answer

Computer systems use electronic circuits which exist in only one of two states the binary number system is a method of representing numbers that counts by using combinations of only two numerals: zero (0) and one (1). The computer's only recognises two states, on or off. Binary simplifies information processing. Because there must always be at least two symbols for a processing system to be able to distinguish significance or purpose, binary is the smallest numbering system that can be used.

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในเพียงหนึ่งในสองรัฐของระบบเลขฐานสองเป็นวิธีการที่เป็นตัวแทนของตัวเลขที่นับโดยใช้การรวมกันของตัวเลขเพียงสอง: ศูนย์ (0) และหนึ่ง (1)ของเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นตระหนักสองรัฐหรือปิด Binary ช่วยลดความยุ่งยากในการประมวลผลข้อมูล เนื่องจากมีเสมอจะต้องมีอย่างน้อยสองสัญลักษณ์สำหรับระบบการประมวลผลเพื่อให้สามารถแยกแยะความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหรือวัตถุประสงค์ไบนารีเป็นระบบเลขที่เล็กที่สุดที่สามารถใช้




WHAT IS "DIGITAL"?
A modern-day "digital" computer, as opposed to an older "analog" computer, operates on the principle of two possible states of something – "on" and "off". This directly corresponds to there either being an electrical current present, or said electrical current being absent. The "on" state is assigned the value "1", while the "off" state is assigned the value "0".
The term "binary" implies "two". Thus, the binary number system is a system of numbers based on two possible digits – 0 and 1. This is where the strings of binary digits come in. Each binary digit, or "bit", is a single 0 or 1, which directly corresponds to a single "switch" in a circuit. Add enough of these "switches" together, and you can represent more numbers. So instead of 1 digit, you end up with 8 to make a byte. (A byte, the basic unit of storage, is simply defined as 8 bits; the well-known kilobytes, megabytes, and gigabytes are derived from the byte, and each is 1,024 times as big as the other. There is a 1024-fold difference as opposed to a 1000-fold difference because 1024 is a power of 2 but 1000 is not.)

ที่มา : http://nookkin.com/articles/computer-science/why-computers-use-binary.ndoc [สืบค้นเมื่อ วั้นที่ 4 สิงหาคม 2556]
ที่มา :http://www.mathsisfun.com/binary-number-system.html  [สืบค้นเมื่อ วั้นที่ 4 สิงหาคม 2556]
ที่มา : http://csunplugged.org/binary-numbers  [สืบค้นเมื่อ วั้นที่ 4 สิงหาคม 2556]

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข่าวการศึกษา

'แท็บเล็ต'ป.1กว่า70%ซอฟต์แวร์พัง

ศูนย์บริการหลังการขาย เผยแท็บเล็ต ป.1 กว่า 4,000 เครื่อง ที่ส่งซ่อมศูนย์ ส่วนใหญ่กว่า 70% มีปัญหาที่ซอฟต์แวร์ อีก 30% มีปัญหาจอแตก และเครื่องตกน้ำ


                         23 พ.ค. 56  นายณัฐวุฒิ พิริยะจีระอนันต์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยร่วมค้าเดอะซิสเต็ม จำกัด หรือแอดไวซ์ พันธมิตรศูนย์บริการหลังการขายบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ กล่าวว่า จากการที่ศูนย์บริการแอดไวซ์ทั้ง 140 ศูนย์ทั่วประเทศ ได้ให้บริการซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือแท็บเล็ต ให้กับ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคปฯ ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเครื่องแท็บเล็ต สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้กับ คณะกรรมการจัดซื้อแท็บเล็ต  พบว่ามีการนำเครื่องแท็บเล็ตมากกว่า 4,000 เครื่องเข้ามาส่งซ่อมที่ศูนย์ ซึ่งอาการส่วนใหญ่กว่า 70%  มีปัญหาที่ซอฟต์แวร์ และอีก 30 % มีปัญหาด้านจอแตกและเครื่องตกน้ำ 
                         "การแก้ปัญหาที่ผ่านมาทางแอดไวซ์ได้แบ่งเป็นเป็น  2 ประเภท คือ ปัญหาที่อยู่ในเงื่อนไขของประกัน และ  ปัญหาที่อยู่นอกเงื่อนไขประกัน ซึ่งที่อยู่ในเงื่อนไขสามารถเครมประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านของอาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทางศูนย์แอดไวซ์สามารถแก้อาการต่างๆได้ภายใน 5 วัน และในส่วนที่อยู่นอกประกัน เช่นจอแตกและเครื่องตกน้ำต้องส่งกลับไปที่ศูนย์ส่วนกลาง เพื่อให้ส่งเครื่องแทบเล็ตกลับไปให้ทางบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคปฯ ดำเนินการแก้ไขต่อ หรือจัดส่งเครื่องใหม่กลับมา"
                         นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้เห็นปัญหาจากการให้บริการ เพราะเครื่องแทบเล็ตมาจากประเทศจีน ในประเทศไทยไม่ได้มีการผลิตอะไหล่สำรอง ดังนั้นในช่วงแรกที่มีการให้บริการ เมื่อเครื่องมีปัญหากับฮาร์ดแวร์ ครูนำเครื่องมาส่งที่ศูนย์บริการในพื้นที่ แต่ศูนย์ก็ไม่สามารถซ่อมได้ทันที ต้องส่งเครื่องแทบเล็ตกลับมาที่ศูนย์ส่วนกลาง ในการซ่อมเครื่องแทบเล็ตจะใช้เวลานานมาก แต่เมื่อเราเห็นปัญหาจึงจัดส่งอะไหล่ไปยังศูนย์ต่างๆทุกศูนย์ และจัดอบรมพนักงานซ่อมเครื่องแทบเล็ตโดยเฉพาะ ให้ไปประจำทุกศูนย์ เพื่อรองรับการให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
                         "เครื่องแทบเล็ตของชั้น ป. 1 ที่มีการใช้งานไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีปัญหา แต่ก็ไม่ใช่ว่าพังเสียหายจนนำกลับมาใช้ต่อไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหาอาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ ทางศูนย์ก็ซ่อมให้จนสามารถนำหลับไปใช้ได้ แต่ที่มีปัญหาหนักๆจนแก้ไขไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหานอกเงื่อนไขประกัน เช่น จอแตก หรือตกน้ำ ซึ่งทางเราไม่สามารถซ่อมให้ได้"  
                         เขากล่าวอีกว่า ในส่วนที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำลังจะมีการเปิดประมูลการจัดซื้อเครื่องแทบเล็ตในล็อตใหม่ ทางแอดไวซ์ ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ เพราะ เน้นเรื่องของการให้บริการซ่อมบำรุงมากกว่า แต่หากบริษัทใดที่ประมูลได้สนใจจะให้แอดไวซ์เป็นศูนย์บริการรับซ่อมเครื่องแทบเล็ตก็ยินดี เพราะถือว่าแอดไวซ์มีประสบการณ์ในการซ่อมเครื่องแทบเล็ตจากประเทศจีนแล้ว และการจัดซื้อครั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วเครื่องแทบเล็ตก็ต้องผลิตจากประเทศจีน ดังนั้น  สิ่งที่น่าห่วงคือ บริษัทที่จะเข้าประมูลจะต้องเตรียมอุปกรณ์อะไหร่ต่างๆของเครื่องแทบเล็ตให้พร้อมด้วย
                         แหล่งข่าวกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้พอทราบแล้วว่าจะมีบริษัทใดสนใจเข้ามายื่นประมูลจัดซื้อเครื่องแทบเล็ต ป.1 และชั้น ม.1 โดยคาดว่าเป็นบริษัทจากไทย 5 บริษัทและเป็นบริษัทจากประเทศจีน 3 บริษัท ซึ่งในส่วนของการจัดซื้อเครื่องแทบเล็ตไม่มีความกังวล เพราะต้องทำตามกระบวนการจัดซื้อตามระเบียบราชการที่มีการกำหนดเงื่อนไขของทีทีโออาร์ไว้ชัดเจนแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดที่จะเข้ามายื่นประมูลจัดซื้อ ล้วนแต่สั่งผลิตเครื่องแทบเล็ตจากประเทศจีนทั้งสิ้น จึงมีความกังวลในเรื่องของความคุ้มค่า และคุณภาพของเครื่องแท็บเล็ต แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าเครื่องแทบเล็ตจะมาจากประเทศจีน ในร่างทีโออาร์ยังมีข้อกำหนดอื่นๆอีกมากที่จะควบคุมคุณภาพทั้งในเรื่องของตัวเครื่อง

ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20130523/159220 [สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2556]

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่ออีบุ๊ค (eBook หรือ e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่ว

                 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2543) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า หมายถึง หนังสือที่สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งแบบปาล์มท้อป หรือพ็อกเก็ตคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีที่เน้นเรื่องการพกพาติดตามตัวได้สะดวกเหมือนโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า Mobile ทำให้ระบบสื่อสารติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สามารถโหลดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องส่งหนังสือจริง
                   กลุ่มพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ (มปป.) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า หมายถึง หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้ สำหรับหนังสือ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วๆไป
                   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแตกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิกหน้าจริง หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน (Barker and singh, 1985) สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัดนั่นก็คือ การปฏิสัมพันธ์ และความเป็นพลวัต (Barker, 1996 ) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันบ้างในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน
                   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ หากใน 1 หน้ามีข้อมูลเป็นหน้าคู่ ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้ายด้านขวามือจะเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่มถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อน
                    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง รูปแบบของการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้มีวิธีเก็บในลักษณะพิเศษ นั่นคือ จากแฟ้มข้อมูลหนึ่งผู้อ่านสามารถเรียกดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยที่ข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในแฟ้มเดียวกัน หรืออาจจะอยู่ในแฟ้มอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลก็ได้ หากข้อมูลที่กล่าวมานี้เป็นข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นรวมถึงเสียงและภาพเคลื่อนไหวด้วย ก็เรียกว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายมิติ (hypermedia) (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)

 ที่มา : STKS-E-learning

การนำเสนอ ที่น่าสนใจ

การแข่งขัน โต้วาที ญัตติ โลกจริงดีกว่า โลกออนไลน์