การเขียนโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์




หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม


กระบวนการแก้ปัญหา

ความหมายของผังงาน


                        ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร

ประเภทของผังงาน

1. ผังงานระบบ (system flowchart)
เป็นผังซึ่งแสดงขอบเขต และลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบหนึ่ง ๆ รวมทั้งแสดงรูปแบบของข้อมูลเข้า (Input) และข้อมูลออก (Output) ว่าถูกรับเข้าหรือแสดงผลโดยผ่านสื่อประเภทใด เนื่องจากผังงานระบบเป็นแผนภาพที่แสดงถึงระบบโดยรวม ดังนั้นกระบวนการหรือโปรแกรมหนึ่ง ๆ อาจถูกแสดงเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในผังงานระบบเท่านั้น
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)
เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง ๆ



ประโยชน์ของผังงาน

1.      ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใด ๆได้   
    อย่างรวดเร็ว2.  ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบไม่สับสน นอกจากนี้ผังงานยังเป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการ เขียนโปรแกรม กล่าวคือจากผังงานเดียวกันสามารถนำไปเขียนโปรแกรมด้วยภาษาใดก็ได้



สัญลักษณ์และความหมาย






หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน

1.             สัญลักษณ์ที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปร่างเป็นสัดส่วนตามมาตรฐาน
2.             ทิศทางของลูกศรในผังงาน ควรมีทิศทางจากบนลงล่าง หรืออาจจากซ้ายไปขวาเสมอ
3.             ผังงานคสรมีความเรียบร้อย สะอาด พยายามหลีกเลี่ยงกากรเขียนลูกศรที่ทำให้เกิดจุดตัด เพราะจะทำให้ผังงานอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก และถ้าในผังงานมีการเขียนข้อความอธิบายใด ๆ ควรทำให้สั้นกะทัดรัดและได้ใจความ


ลักษณะโครงสร้างของผังงาน

ผังงานทั่วไปจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 รูปแบบต่อไปนี้คือ
1.โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence structure) คือ การเขียนให้โปรแกรมทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด  อาทิเช่น
     
2.โครงสร้างแบบมีการเลือก (Decision structure) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ ได้แก่ เงื่อนไขเป็นจริง จะกระทำกระบวนการหนึ่ง และถ้าเป็นเท็จจะทำอีกกระบวนการหนึ่ง อาทิเช่น

3.โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repeation or Loop structure) คือ การทำกระบวนการหนึ่ง
หลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม  




ตัวแปร 


      ในการเขียนโปรแกรมนั้น โปรแกรมคำสั่งจะมีการทำงานมากมาย ซึ่งในการทำงานบางครั้งต้องรอการกรอกข้อมูลเพิ่มเพื่อใใช้ในการทำงานตามคำสั่ง และโปรแกรมต้องมีการจดจำค่าของข้อมูลไว้
เปรียบเสมือนมีกระดาษทดเพื่อใช้ในการคำนวณในภายหลัง ซึ่งในการจำค่าของขุ้อมูลที่ป้อนให้โปรแกรมนั้นจะให้การกำหนดค่าตัวแปร

กฎในการกำหนดค่าตัวแปร

       การกำหนดค่าตัวแปร มีกฎดังนี้
       1. ต้องไม่ซ้ำกับคีย์เวิร์ด(Keyword) หรือคำสงวน
       2. ชื่อมีความยาวไม่จำกัด แต่ต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกัน
       3. ชื่อจะต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษร คือ A ถึง Z หรือเครืืองหมาย _(underscore) และอักขระถัดไป อาจจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือ เครื่องหมาย  _(underscore) ห้ามตั้งชื่อตัวแปรขึ้นต้นด้วยตัวเลข
      4. ชื่อต้องพิมพ์ติดกันห้ามมีช่องว่าง (Blank)
      5. ตัวแปลภาษาหรือ คอมไพเลอร์ (Compiler) จะถึอว่าตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กมีค่าแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์นั้นด้วยว่าเห็นตัวอักษรนั้นแตกต่างกันหรือไม่ บางภาษาตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กมีค่าไม่แตกต่างกัน เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML) ภาษาิวิชวลเบสิก (VB)



อ้างอิง    http://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/ploblem_solving/cap3/p01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การนำเสนอ ที่น่าสนใจ

การแข่งขัน โต้วาที ญัตติ โลกจริงดีกว่า โลกออนไลน์