วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ส่งlinkโครงงาน


เมื่อนักเรียน ทำการ Login เข้าใช้งานใน Gmail.com แล้ว
 ให้นักเรียน ดำเนินการตามขั้นตอนดังรูปภาพที่ปรากฎคะ

1.  เลื่อกการทำงานที่แถมเมนูด้าน บน  Drive หรือ ไดรฟ์ 


2.ทำการอัพโหลดไฟล์งาน (ทุกประเภท) ที่นักเรียนต้องการส่งให้ครู  ถ้าเป็น โฟลด์เดอร์ ก็ทำการเลือที่ เมนุ Folder  ถ้าเป็น แฟ้มงาน ให้เลือก File  ในที่นี้ ครูเลือกที่แฟ้ม 


3. เมื่่อเลือกได้แล้ว จะทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการส่ง แล้วคลิกที่ปุ่ม Open หรือ เปิด



4. ระบบจะทำการอัพโหลด (Upload File) เมื่อทำการอัพโหลดสำเร็จแล้วจะแจ้งว่า Upload Complete 


5. ให้นักเรียนทำการแบ่งปัน (Share) ไฟล์ ด้วยการคลิกขาวที่ไฟล์งานนั้น เลือก Share หรือ แบ่งปัน 



6.ทำการปรับค่าการแบ่งปัน ( Sharing settings)
- Public on the web หมายถึง  ให้ทุกคนสามารถดูงานเราได้ (สาธารณะ)
-Anyone  with the link  หมายถึง ให้คนที่ได้รับ  link เทานั้น  ซึ่ง ต้องเพิ่ม E-mail ของบุคคลนั้นด้วย
-Private  สำหรับคนที่ระบุ เท่านั้น 

ในส่วนถัดมาคือ การตั้งค่า ให้สามารถ ดูได้อย่างเดียว หรือสามารถแก้ไขได้
ให้เลือก ที่ Can view  สำหรับเพื่อให้ดูได้อย่างเดียว
ให้เลือกที่ Can Edit  สำหรับเพื่อให้ดูและสามารถแก้ไขได้


ในการตั้งค่า ขอให้ต้ังค่า ให้ครูสามารถคอมเม้นได้ด้วยนะคะ โดยเลือก Can Comment
E-mail ครูสุวีรา สุดาเดช   nootsusuda@gmail.com

7. เมื่่อทำการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ทำการคัดลอก ลิงก์ (Link to share) ด้วยการ คลิกขวาที่ เมาส์ 
หรือทำการ Ctrl +C 
8. ขั้นตอนสุดท้าย ให้นักเรียน นำลิงก์ที่คัดลอกแล้ว นำไปส่งที่ หัวข้อกิจกรรม การส่ง Link โครงงาน 
โดยกรอกรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วน นะคะ แล้วจึงคลิก Submit หรือ ส่ง

การส่ง link แฟ้มข้อมูล โครงงาน เพื่อให้ครูตรวจ




วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพ่อแห่งชาติ ปี 2555

เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

ข้าพพุทธเจ้า นางสุวีรา  สุดาเดช  ขอน้อมถวายพระพร
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ทรงมีพระพลานมัยสมบูรณ์แข็งแรง
ขอทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหมุ่อมขอเดชะ


พระผู้ทรงเหนื่อยยากเพื่อความสุขขอพระสกนิกร 

กิจกรรมที่ 4.1 การทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของโครงงาน




โครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

(ชื่อโครงงาน..........................................................................................)


คณะผู้จัดทำ

1.       ชื่อ ............................................ นามสกุล ............................ ชั้น ม..... ห้อง....... เลขที่ ........
2.       ชื่อ ............................................ นามสกุล ............................ ชั้น ม..... ห้อง....... เลขที่ ........
3.       ชื่อ ............................................ นามสกุล ............................ ชั้น ม..... ห้อง....... เลขที่ ........
4.       ชื่อ ............................................ นามสกุล ............................ ชั้น ม..... ห้อง....... เลขที่ ........
5.       ชื่อ ............................................ นามสกุล ............................ ชั้น ม..... ห้อง....... เลขที่ ........



ครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางสุวีรา   สุดาเดช




โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ง 23242  เทคโนโลยีสารสนเทศ 6
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนอำนาจเจริญ  อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ





โครงงานคอมพิวเตอร์

1.              ชื่อโครงงาน .................................................................................................................................
2.              ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
(1)       .................................................................................................................................
(2)       .................................................................................................................................
3.              อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
..................................................................................................................................................................
4.              ระยะเวลาดำเนินงาน
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
5.              แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
6.              วัตถุประสงค์
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
7.              หลักการและทฤษฎี
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
8.              วิธีดำเนินงาน
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................

9.              ขั้นตอนการปฏิบัติ
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
10.       ผลที่คาดว่าจะได้รับ
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................

11.       เอกสารอ้างอิง
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
.





องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์
หัวข้อ / รายงาน
รายละเอียดที่ต้องระบุ
1.         ชื่อโครงงาน
ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
2.         ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
3.         อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
ครู อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
4.         ระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
5.         แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
6.         วัตถุประสงค์
สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
7.         หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
8.         วิธีดำเนินงาน
กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ
9.         ขั้นตอนการปฏิบัติ
วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการและผลกระทบ
11.  เอกสารอ้างอิง
ชื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน



ศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่นี่่ กิ่จกรรม ด้านวัฒนธรรมวิจัย

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำหรับนักเรียชั้น ม.2


ให้นักเรียนคลิกลิงก์เพื่อสมัครเข้าชั้นเรียนทุกคนนะคะ
ผู้สอนจะเป็นผู้บอกที่อยู่เว็บ (web address) ของชั้นเรียนให้แก่ท่าน หลังจากท่านรู้ที่อยู่เว็บของชั้นเรียน ให้ท่านไปยังหน้าเว็บนั้นเพื่อกดปุ่ม "เข้าร่วมชั้นเรียน" หลังจากท่านกดแล้ว ระบบจะแจ้งผู้สอนผ่านอีเมล ซึ่งหลังจากผู้สอนอนุมัติคำขอของท่าน ท่านจะเป็นผู้เรียนของชั้นเรียนนั้นทันที

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 ภาคเรียนที่ 2/2555 (สำหรับนร.ชั้นม.3)

ให้นักเรียนดำเนินการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้แล้วเสร็จ
โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. หน้าปก (Front cover)
2. คำนำ (Introduction)
3.สารบัญ (Contents)
4. เนื้อหาอย่างน้อย 10 หน้า  พร้อมอ้างอิง
5. ปกหลัง (Back cover)
แล้วรวบรวมส่ง โดยบันทึกในแผ่น CD เป็นรายวิชา ภายในวันที่  30 พฤศจิกายน 2555
โดย 1 แผ่น CD  ปฏิบัติดังนี้
  • หน้าแผ่น   เขียนชื่อรายวิชา  ห้อง  ภายในแผ่น รวบรวม Folder งานของนักเรียน 
  • โดยตั้งชื่อ Folder  ดังนี้    ระดับชั้น   ห้อง  เลขที่   ตัวอย่าง  3.8.50  ชั้น ม.3  ห้อง  8  เลขที่ 50 
  • ภายใน Folder   มีแฟ้มข้อมูล  1  แฟ้ม นามสกุล .opf  เช่น  5555.opf    และ 1 Folder  ชื่่่่่่อเดียวกับแฟ้ม    5555_opf_file



วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ 1 การหาผลรวม และค่าเฉลี่ย

 สำหรับนักเรียนชั้น ม.2

         ให้นักเรียน สร้างตารางบันทึกคะแนน การสอบ วัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนการทดสอบ  3 ครั้ง  ของนักเรียน จำนวน  15  คน   โดยให้นักเรียนหาผลรวมและค่าเฉลี่ยของคะแนน ของนักเรียนแต่ละคน  ภายในเวลา 20 นาที

ส่งชิ้นงานที่  suveera6804@hotmail.com  หรือ  https://www.facebook.com/suveera.sudadat

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


          1. อักขระ (Text) หรือข้อความ เป็นองค์ประกอบของโปรแกรมมัลติมีเดีย สามารถนำอักขระมาออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของภาพ หรือสัญลักษณ์ กำหนดหน้าที่การเชื่อมโยงนำ เสนอเนื้อหาเสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาการใช้อักขระเพื่อกำหนดหน้าที่ในการสื่อสารความหมายในคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะดังนี้
      1.1 สื่อความหมายให้ชัดเจน เพื่ออธิบายความสำคัญที่ต้องการนำ เสนอส่วนของเนื้อหาสรุปแนวคิดที่ได้เรียนรู้
                1.2 การเชื่อมโยงอักขระบนจอภาพสำ หรับการมีปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดีย การเชื่อมโยงทำ ได้หลายรูปแบบจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในระบบเครือข่าย ด้วยแฟ้มเอกสารข้อมูลด้วยกันหรือต่างแฟ้มกันได้ทันที ในลักษณะรูปแบบตัวอักษร (Font) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Symbol) การเลือกใช้แบบอักขระ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และการให้สีแบบใดให้ดูองค์ประกอบการจัดวางองค์ประกอบด้านศิลป์ที่ดูแล้วมีความเหมาะสม
                1.3 กำหนดความยาวเนื้อหาให้เหมาะสม แก่อ่านยากและในการดึงข้อมูลมาศึกษา ผู้ผลิตโปรแกรมสามารถใช้เทคนิคการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย แล้วเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน หากต้องการศึกษาข้อมูลส่วนใดก็สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่ได้ การเชื่อมโยงเนื้อหาสามารถกระทำ ได้ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ ลักษณะเส้นตรง ลักษณะสาขา และลักษณะผสมผสานหลายมิติ
                1.4 สร้างการเคลื่อนไหวให้อักขระ เพื่อสร้างความสนใจก่อนนำ เสนอข้อมูล สามารถทำ ได้หลายวิธี เช่น การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง, การหมุน, การกำหนดให้เห็นเป็นช่วงๆ จังหวะ เป็นต้น ข้อสำคัญคือ ควรศึกษาถึงจิตวิทยาความต้องการรับรู้ กับความถี่การใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวของผู้ศึกษาโปรแกรมแต่ละวัยให้เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย
                1.5 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ เป็นสื่อกลางที่สำคัญในการติดต่อกับผู้ศึกษาในบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ การนำ เสนอหรือออกแบบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายควรให้สัมพันธ์กับเนื้อหาในบทเรียน สามารถทำ ความเข้าใจกับความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นได้อย่างรวดเร็วอักขระเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ การทำ ความเข้าใจ การนำ เสนอความหมาย ที่ก่อประโยชน์กับผู้เรียน
          ปิลันธนา  สงวนบุญพงษ์ (2542) ได้กล่าวไว้ว่า อักขระมีประสิทธิผลในการสื่อข้อความที่ตรงและชัดเจนได้ดีในขณะที่รูปภาพ สัญลักษณ์ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ช่วยทำ ให้ผู้ใช้นึกและจำสารสนเทศได้ง่ายขึ้นมัลติมีเดียนั้นเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการประสมประสานอักขระ สัญลักษณ์ ภาพ รวมถึงสี เสียง ภาพนิ่ง และภาพวีดิทัศน์เข้าด้วยกัน ทำ ให้ข้อมูลข่าวสารมีคุณค่าและน่าติดตามเพิ่มขึ้น
          2. ภาพนิ่ง (Still Image) เป็นภาพกราฟิก เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพลายเส้น แผนที่แผนภูมิ ที่ได้จากการสร้างภายในด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาพที่ได้จากการสแกนจากแหล่งเอกสารภายนอก ภาพที่ได้เหล่านี้จะประมวลผลออกมาเป็นจุดภาพ (Pixel) แต่ละจุดบนภาพจะถูกแทนที่เป็นค่าความสว่าง (Brightness) ค่าสี (Color) ส่วนความละเอียดของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดและขนาดของจุดภาพ ภาพที่เหมาะสมไม่ใช่อยู่ที่ขนาดของภาพ หากแต่อยู่ที่ขนาดของไฟล์ภาพการจัดเก็บภาพที่มีขนาดข้อมูลมาก ทำ ให้การดึงข้อมูลได้ยากเสียเวลา สามารถทำ ได้โดยการลดขนาดข้อมูล การบีบอัดข้อมูลชนิดต่าง ๆ ด้วยโปรแกรมในการจัดเก็บบีบอัดข้อมูล (คลายข้อมูล) ก่อนที่จะเก็บข้อมูลเพื่อประหยัดเนื้อที่ ในการเก็บไฟล์ (File) กราฟิกที่ใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แบ่งได้ 3 ไฟล์ คือ
                2.1 ไฟล์สกุล GIF (Graphic Interchange Format) ไฟล์ชนิดบิตแมต มีการบีบอัดข้อมูลภาพไฟล์มีขนาดไฟล์ตํ่า มีการสูญเสียข้อมูลน้อย สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใส (Transparent) นิยมใช้กับภาพวาดและภาพการ์ตูน มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบอินเทอร์เลช (Interlace) มีโปรแกรมสนับสนุนจำนวนมากเรียกดูได้กับกราฟิกบราวเซอร์ (Graphics Browser) ทุกตัวมีความสามารถนำ เสนอภาพแบบเคลื่อนไหว (Gif Animation) จุดด้อยของไฟล์ประเภทนี้คือ แสดงได้เพียง 256 สี
                2.2 ไฟล์สกุล JPEG (Joint Photographic Experts Group) เป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูงเหมาะสมกับภาพถ่าย จุดเด่นคือ สนับสนุนสีได้ถึง 24 บิต (16.7 ล้านสี) การบีบอัดข้อมูลไฟล์สกุล JPEG สามารถทำได้หลายระดับ ดังนี้ Max, High, Medium และ Low การบีดอัดข้อมูลมากจะทำให้ลบข้อมูลบางส่วนที่ความถี่ซ้ำซ้อนกันมากที่สุดออกจากภาพ ทำให้รายละเอียดบางส่วนหายไป มีระบบการแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างเป็นจำนวนมากเรียกดูได้กับกราฟิกบราวเซอร์ (Graphics Browser) ทุกตัวตั้งค่าบีบไฟล์ได้ จุดด้อยคือทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้
                2.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) จุดเด่นคือสามารถใช้งานข้ามระบบและกำหนดค่าการบีบไฟล์ตามต้องการ (8 บิต, 24 บิต, 64 บิต) มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ไม่เกิดการสูญเสีย แสดงผลแบบ (Interlace) ได้เร็วกว่า GIF สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ จุดด้อยคือหากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูงจะให้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำไม่สนับสนุนกับกราฟิกบราวเซอร์ (Graphics Browser) รุ่นเก่าโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
          3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เกิดจากชุดภาพที่มีความแตกต่างนำ มาแสดงเรียงต่อเนื่องกันไป ความแตกต่างของแต่ละภาพที่นำ เสนอทำ ให้มองเห็นเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ในเทคนิคเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูน ภาพเคลื่อนไหวจะทำ ให้สามารถนำ เสนอความคิดที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก ให้ง่ายต่อการเข้าใจ และสามารถกำหนดลักษณะและเส้นทางที่จะให้ภาพนั้นเคลื่อนที่ไปมาตามต้องการ คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมาตอนหนึ่งนั่นเอง การแสดงสีการลบภาพ โดยทำให้ภาพเลือนจางหายหรือทำให้ภาพปรากฏขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ กัน นับเป็นสื่อที่ดีอีกชนิดหนึ่งในมัลติมีเดียโปรแกรมสนับสนุนการสร้างภาพเคลื่อนไหวมีอยู่หลายโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ และจัดเก็บภาพเป็นไฟล์สกุล Gif ไฟล์ประเภทนี้คือ มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำ พื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparent) เรียกดูได้กับกราฟิกบราวเซอร์ (Graphics Browsers) ทุกตัวแต่สามารถแสดงผลได้เพียง 256 สี (ทรงศักดิ์  ลิ้มบรรจงมณี, 2542)
          4. เสียง (Sound) เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นและทำ ให้คอมพิวเตอร์มีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการเพิ่มการ์ดเสียงและโปรแกรมสนับสนุนเสียง อาจอยู่ในรูปของเสียงดนตรี เสียงสังเคราะห์ปรุงแต่ง การใช้เสียงในมัลติมีเดียนั้นผู้สร้างต้องแปลงสัญญาณเสียงไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง analog ผ่านจากเครื่องเล่นวิทยุ เทปคาสเซ็ทหรือแผ่นซีดี การอัดเสียงผ่านไมโครโฟนต่อเข้าไลน์อิน ( Line – In ) ที่พอร์ต (Port) การ์ดเสียงได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านไมโครโฟน และการ์ดเสียงที่มีคุณภาพดีย่อมจะทำ ให้ได้เสียงที่มีคุณภาพดีด้วยเช่นกัน ไฟล์เสียงมีหลายแบบ ได้แก่ ไฟล์สกุล WAV และ MIDI (Musica Instrument Digital Interface) ไฟล์ WAV ใช้เนื้อที่ในการเก็บสูงมากส่วนไฟล์ MIDI เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ในการเก็บเสียงดนตรี
          5. ภาพวีดิทัศน์ (Video) ภาพวีดิทัศน์เป็นภาพเหมือนจริงที่ถูกเก็บในรูปของดิจิทัล มีลักษณะแตกต่างจากภาพเคลื่อนไหวที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ในลักษณะคล้ายภาพยนตร์การ์ตูนภาพวีดิทัศน์สามารถต่อสายตรงจากเครื่องเล่นวีดิทัศน์หรือเลเซอร์ดิสก์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการ Capture ระบบวีดิทัศน์ที่ทำ งานจากฮาร์ดดิสก์ที่ไม่มีการบีบอัดสัญญาณภาพวีดิทัศน์ ภาพวีดิทัศน์มีความต้องการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ว่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการส่งสูงสุดแต่ยังคุณภาพของภาพวีดิทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยการ์ดวีดิทัศน์ในการทำ หน้าที่ดังกล่าว การนำ ภาพวีดิทัศน์มาประกอบในมัลติมีเดียต้องมีอุปกรณ์สำคัญคือดิจิทัลวีดิทัศน์การ์ด (Digital Video Card) การทำ งานในระบบวินโดวส์ ภาพวีดิทัศน์จะถูกเก็บไว้ในไฟล์ตระกูลเอวีไอ (AVI : Audio Video Interleave) มูพวี่ (MOV) และเอ็มเพ็ก (MPEG : MovingPictures Experts Group) ซึ่งสร้างภาพวีดิทัศน์เต็มจอ 30 เฟรมต่อวินาที ข้อเสียของการดูภาพวีดิทัศน์ ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ ไฟล์ของภาพจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 500 กิโลไบท์ หรือมากกว่า 10 เมกะไบท์ ทำ ให้เสียเวลาในการดาวน์โหลดที่ต้องเวลามาก
          6. การเชื่อมโยงข้อมูลแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Links) หมายถึง การที่ผู้ใช้มัลติมีเดียสามารถเลือกข้อมูลได้ตามต้องการโดยใช้ตัวอักษร ปุ่ม หรือภาพ สำ หรับตัวอักษรที่จะสามารถเชื่อมโยงได้ จะเป็นตัวอักษรที่มีสีแตกต่างจากอักษรตัวอื่น ๆ ส่วนปุ่มก็จะมีลักษณะคล้ายกับปุ่มเพื่อชมภาพยนตร์หรือคลิกลงบนปุ่มเพื่อเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการหรือเปลี่ยนหน้าข้อมูล ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) เป็นการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการสื่อสารไปมาทั้งสองทาง คือ การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และการมีปฏิสัมพันธ์ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะดูข้อมูล  ดูภาพ ฟังเสียง หรือดูภาพวีดิทัศน์ ซึ่งรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปใดรูปหนึ่งดังต่อไปนี้
                6.1 การใช้เมนู (Menu Driven) ลักษณะที่พบเห็นได้ทั่วไปของการใช้เมนูคือ การจัดลำดับหัวข้อทำ ให้ผู้ใช้สามารถเลือกข่าวสารข้อมูลที่ต้องการได้ตามที่ต้องการและสนใจ การใช้เมนูมักประกอบด้วยเมนูหลัก (Main Menu) ซึ่งแสดงหัวข้อหลักให้เลือก และเมื่อไปยังแต่ละหัวข้อหลักก็จะประกอบด้วยเมนูย่อยที่มีหัวข้ออื่นให้เลือก หรือแยกไปยังเนื้อหาหรือส่วนนั้น ๆ เลยทันที
                6.2 การใช้ฐานข้อมูลไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Database) เป็นรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกไปตามเส้นทางที่เชื่อมคำสำคัญซึ่งอาจเป็นคำ ข้อความ เสียงหรือภาพ คำสำคัญเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันอยู่ในลักษณะเหมือนใยแมงมุม โดยสามารถเดินหน้าและถอยหลังได้ตามความต้องการของผู้ใช้
          7. การจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย เนื่องจากมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียที่เป็นการพัฒนาแบบใช้หลายสื่อผสมกัน (Multimedia) และเทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดียมีจำนวนมาก ทำ ให้จำ เป็นต้องใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลเป็นจำ นวนมาก สื่อที่ใช้จัดเก็บต้องมีขนาดความจุมากพอที่จะรองรับข้อมูลในรูปแบบวีดิโอ รูปภาพ ข้อความ ปัจจุบันแผ่นซีดีรอม (CD-ROM :Compact Disk Read Only Memory) และแผ่นดิวีดี ( DVD ) ได้รับความนิยมแพร่หลาย สามารถเก็บข้อมูลได้สูงมาก จึงสามารถเก็บข้อมูลแฟ้มข้อมูลอื่น ๆ ได้มากเท่าที่ต้องการ จึงกล่าวได้ว่าซีดีรอมและดิวิดีเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังทำ ให้ผู้เรียนสามารถทบทวนและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองในเวลาที่ผู้เรียนสะดวกและมีประสิทธิภาพ





กระบวนการผลิตและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


1. องค์ประกอบด้านระบบมัลติมีเดีย
                1.1 ระบบอุปกรณ์อินพุต (input device) ระบบที่สามารถนำ ข้อมูลจากระบบ analog สู่ระบบ digital โดยใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง เช่น การอินพุตด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหวด้วยอุปกรณ์กล้องวีดิโอ กล้องภาพนิ่งดิจิทัล เครื่องสแกนเนอร์ ซึ่งรับภาพทั้งที่เป็นแบบภาพ สไลด์ หรือจากฟิล์ม อุปกรณ์ตัดต่อภาพ การอินพุตด้วยเสียง การ์ดเสียง ไมโครโฟน และอุปกรณ์อื่นคีย์บอร์ด เมาส์ ซีดีรอม หรือ ดีวีดีรอม
                1.2 ระบบการประมวลผลการจัดเก็บมัลติมีเดีย การใช้ซอฟท์แวร์ที่มีระบบสัมพันธ์เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดส่วนบุคคล หรือชนิดเวิร์คสเตชั่น (Workstation) ซอฟท์แวร์ที่รันบนไมโครซอฟท์วินโดว์ ใช้ปฏิบัติการในการแปลงสัญญาณ การบีบอัด การเปลี่ยนมาตรฐานและฟอร์แมต เช่น MPEG, AVI, Sound Processing
                1.3 ระบบอุปกรณ์เอาท์พุต (output device) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้กับอุปกรณ์แสดงวีดิโอ เสียง หรือเครื่องพิมพ์ เช่น จอแสดงผลแบบสัมผัส จอภาพที่มีคุณสมบัติรองรับการแสดงภาพข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพวีดิทัศน์ได้ที่ความละเอียดสูง ลำ โพงแบบรอบทิศทางที่ให้เหมือนสมจริง
                1.4 ระบบการสร้าง ( Production) กระบวนการออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ (context creation) ที่อยู่ในรูปแบบข้อความ ภาพ เสียง วีดิโอ โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวกับ Authoring, Composer, Painting, Editing, Simulating เพื่อสร้างสรรค์ผสมผสานให้เป็นสื่อที่น่าเรียนรู้
                1.5 เนื้อหา (text) หรือข้อมูล ข่าวสารที่บรรจุในสื่อ
2. องค์ประกอบด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
                2.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา เป็นบุคลากรที่มีความรู้ประสบการณ์ทางด้านการออกแบบและการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการกำหนดเป้าหมายและทิศทางของหลักสูตรวัตถุประสงค์พื้นฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน ขอบข่ายของเนื้อหา กิจกรรมการเรียน การสอน รายละเอียดคำอธิบายของเนื้อหาวิชา ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผลของหลักสูตรบุคคลกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่สามารถให้คำ ปรึกษาแนะนำ เรียกว่าทรัพยากรบุคคลด้านหลักสูตร
                2.2 ผู้เชี่ยวด้านการสอน เป็นบุคลากรที่ทำ หน้าที่ในการเสนอเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ และมีความสำเร็จในด้านการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี เป็นต้นว่ามีความรู้ในเนื้อหาอย่างลึกซึ้งสามารถจัดลำ ดับความยากง่าย ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหา รู้เทคนิควิธีการนำ เสนอเนื้อหาหรือวิธีการสอน การออกแบบและการสร้างบทเรียน ตลอดจนมีวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นอย่างดี บุคคลกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้การออกแบบบทเรียนมีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพที่น่าสนใจ
                2.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการเรียนการสอน จะช่วยทำ หน้าที่ในการออกแบบและให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านการวางแผนการออกแบบบทเรียน ประกอบด้วยการออกแบบและการจัดวางรูปแบบ การออกแบบหน้าจอหรือเฟรมเนื้อหา การเลือกและวิธีการใช้ตัวอักษร เส้น รูปทรง กราฟิก แผนภาพ แผนภูมิ รูปภาพ สี แสง เสียง การจัดทำ รายงานและสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้บทเรียนมีความสวยงาม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
                2.4 ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ที่ทำ งานด้านคอมพิวเตอร์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์และสร้างสื่อมัลติมีเดีย กระบวนการผลิตสื่อมัลติมีเดียก็คล้าย ๆ กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ต้องมีคนมาเกี่ยวข้องจำนวนบุคลากรที่จำเป็นในการผลิตงานจะนำ มาซึ่งทักษะและความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านและต้องมีการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มทำงานเพื่อให้ผลงานออกมามีความกลมกลืนกันกับกลุ่มคนดังกล่าว ได้แก่ ผู้ออกแบบกราฟิกโปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบตกแต่งเสียง ผู้ถ่ายวีดิทัศน์ ผู้ออกแบบภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 








วันแม่แห่งชาติ


แม่ของฉันเปรียบเสมือน   ......... ท้องฟ้า 
ท้องฟ้าที่พระอาทิตย์ขึ้น  อบอุ่น  เมื่อได้อยู่กับท่าน
ท้องฟ้าที่สดใส เมื่อ ท่านปลอบโยน
ท้องฟ้า สีทอง เมื่อท่านกอดและแสดงความรักต่อฉัน

วันสำคัญทางพุทธศาสนา


่่่่วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ


 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

          คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ


 ที่มา   http://hilight.kapook.com/view/23220

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานนำเสนอ1

ไฟล์วิีดีโอ   ที่ใช้ภาพนิ่่งประกอบ คลิปเสียง

งานนำเสนอ 1

      ไฟล์วีดีโอนี้ ประกอบการเรียน ในชั่วโมง.
เรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

จัดทำโดย
นางสุวีรา  สุดาเดช 

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

                     วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]

แนะนำตนเอง






เด็กชาย ชั้น เลขที่ ปัจจุบันเป็นนักฟุตบอล ทีมโรงเรียนอำนาจเจริญ รุ่นอายุไ่ม่เกิน 15 ปี การเรียนอยู่เ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4.2 การสร้างงานนำเสนอ

ให้นักเรียน ม. 3 ศึกษา เมนู   การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เรื่อง การสร้างชิ้นงานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

โดยให้นร.
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มละ 3 คน
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ  ดังนี้
       2.1 โรงเรียนที่ฉันรัก
       2.2  หมู่บ้านที่ฉันแสนภูมิใจ
       2.3  คนดี ศรีอำนาจ
       2.4  โครงงานที่นร.เคยทำ(ตั้งแต่ ม. 1 - ม.3)

3.เตรียม ภาพถ่าย (.jpg)  และ ภาพเคลื่อนไหว (.wmv,.avi,.)
4.เตรียมเนื้อเรื่อง และ สคริปในการจัดการนำเสนอข้อมูล  เพื่อเสนอครู และเพื่อนในครั้งถัดไป


ตรวจสอบรายชื่อที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การสมัครเข้าร่วมคัดเลือกตัวแทนแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์

            นักเรียนที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถสมัครเข้าร่วมคัดเลือกตัวแทนนร.เข้าร่วมแข่งขัน 
             ในส่วนของรายการค้นหาอัจฉริยะไอที นักเรียนต้องมีความสามารถเบื้องต้นในการประกอบติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และการลง โปรแกรม windows 7 อีกทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์


ทำเนียบผู้กล้า 

ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัคร

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพุทธศาสนา


ความเป็นมาของการเข้าพรรษา 

     ในเรื่องความเป็นมาของการเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
 
     จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุมีการเข้าพรรษาเมื่อเข้าฤดูฝน


วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันสุนทรภู่

   สุนทรภู่ เป็นกวีเอกของโลก  ได้ประพันธ์นิราศ  แต่งกลอน

บทประพันธ์ เรื่อง พระอภัยมณี  ที่ถูกนำมาสร้าง เป็นหนัง

เป็นละคร และการ์ตูน แอนนิเมชั่น  ร.ร.อำนาจเจริญได้จัดกิจกรรมเพื่อ

รำลึกถึงผลงานของ ท่านสุนทรโวหาร  โดยมีการแข่งขัน

แต่งบทกลอน

ประกวดนางในวรรณคดี

ชมการแสดงบนเวที

ตอบปัญหา

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันไหว้ครู







กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู

          การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่น ๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี

          มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่าเวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู


 ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
          1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์

          2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว

          3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม

          4. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน

          5. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

 ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู

          1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน

          2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"

          3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว

          4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน

          5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน

ตัวชีวัด  เขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน (ง 3.1 ม.3/2)



สาระสำคัญ
           การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน  เป็นงานที่รวบรวมความสามารถของบุคลลทั้งด้านความรู้และความเข้าใจ ในภาษาคอมพิวเตอร์ ความเข้าในในระบบงาน เพื่อให้ผลงานออกมามีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ

สาระการเรียนรู้

1.             การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน
2.             โครงสร้างของโปรแกรม
3.             โครงสร้างแบบตามลำดับ
4.             โครงสร้างแบบการเลือกกระทำตามเงื่อนไข
5.             โครงสร้างการทำซ้ำ
6.             การกำหนดค่าตัวแปร และชนิดของตัวแปร การแปลงค่าตัวแปร
7.             คำสั่งในการแสดงผลข้อมูลและรับข้อมูล
8.             การลำดับคำสั่ง
9.             การควบคุมโปรแกรม โดยกระทำตามเงื่อนไข
10.           การควบคุมโปรแกรม โดยการทำซ้ำ
11.           การเขียนโปรแกรมด้วยจาวาสคริปต์ (Java Script) (1)
12.            การเขียนโปรแกรมด้วยจาวาสคริปต์ (Java Script) (2)



การนำเสนอ ที่น่าสนใจ

การแข่งขัน โต้วาที ญัตติ โลกจริงดีกว่า โลกออนไลน์